12/01/18
สาธารณรัฐเช็ก
จุดแข็งด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.)
- ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับกลาง (moderate innovators) ซึ่งมีค่าผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรมต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรป โดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 ถึง 90 ของค่าเฉลี่ยด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรป
- การบินและอวกาศ พลังงาน เทคโนโลยีการขนส่ง และเทคโนโลยีชีวภาพ ถือเป็นสาขาที่สาธารณรัฐเช็กมีความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ และมีความร่วมมือในระดับนานาชาติ
- มีความเชี่ยวชาญในวิทยาศาสตร์ในสาขาที่เกี่ยวกับอาหาร การเกษตร และประมง ซึ่งมีวารสารวิชาการในสาขาเหล่านี้ตีพิมพ์ออกมาเป็นจำนวนมาก
- มีความก้าวหน้าในด้านนาโนเทคโนโลยีสิ่งทอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอของไทย
- โครงสร้างพื้นฐานทางด้านการวิจัยและพัฒนาที่ดี
จุดอ่อนด้าน วทน.
- ขาดปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างภาคส่วนในระบบการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยเฉพาะขาดความเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ และยังไม่มีการใช้ผลการวิจัยในประเทศเพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวเท่าที่ควรจะเป็น
- จำนวนนักวิจัยน้อย และการแลกเปลี่ยนนักวิจัยมีน้อยเช่นกัน
- ไม่มีการใช้เครื่องมือ/มาตรการเพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาเท่าที่ควร
- ระบบการสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมของภาครัฐยังมีความกระจัดกระจาย ไม่ถูกจัดให้เป็นระบบ
- การนำผลงานวิจัยไปต่อยอด หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ยังมีน้อย
- บริการที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยียังไม่มีคุณภาพ
- การบริการทางการเงินสำหรับโครงการด้านนวัตกรรมยังมีจำกัด
- ระบบการเรียกเก็บภาษีและกฎหมายของประเทศเป็นอุปสรรคสำหรับ Venture capital investment
- สาขาการวิจัยที่มุ่งเน้นไม่ได้ถูกกำหนดตามความต้องการหรือปัญหาของสังคม
โปแลนด์
จุดแข็งด้าน วทน.
- ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับกลาง (moderate innovators)
- มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาที่เกี่ยวกับอาหาร การเกษตร การประมง รวมไปถึง มนุษย์ศาสตร์ สุขภาพ และวัสดุศาสตร์ ส่วนในเรื่องของการพัฒนาและผลิตเทคโนโลยีนั้น โปแลนด์มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีการก่อสร้าง การขนส่ง สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี และพลังงาน โดยจำนวนวารสารวิชาการที่ถูกตีพิมพ์และจำนวนการจดสิทธิบัตรถูกใช้เป็นตัวบ่งชี้ของความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โปแลนด์มีความเชี่ยวชาญในวิทยาศาสตร์สาขาอาหาร เกษตรกรรม และการประมงมากที่สุด แต่จำนวนวารสารทางวิชาการที่ถูกตีพิมพ์มีมากที่สุดในสาขาสุขภาพและการแพทย์
- สำหรับความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศโปแลนด์จะมุ่งเน้นการใช้เทคนิคของการเพาะเลี้ยงเซลล์และวิศวกรรมเนื้อเยื่อ และในการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพประเทศโปแลนด์จะมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชนิดนี้ในสาขาสุขภาพและการแพทย์ ส่วนความเชี่ยวชาญทางนาโนเทคโนโลยีของประเทศโปแลนด์จะมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาในสาขาวัสดุนาโน โดยมีบริษัทด้านวัสดุนาโนถือเป็นร้อยละ 68 ของบริษัทด้านนาโนเทคโนโลยีทั้งหมดในประเทศโปแลนด์
จุดอ่อนด้าน วทน.
- สำหรับจุดอ่อนสำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของโปแลนด์นั้นคือ การขาดแคลนการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมจากภาคเอกชน ดังนั้นรัฐบาลของของประเทศโปแลนด์จึงจัดทำนโยบายเพื่อส่งเสริม และกระตุ้นการลงทุนจากภาคเอกชน ตัวอย่างเช่น การลดหย่อนภาษีสำหรับบริษัทที่พัฒนานวัตกรรม และจัดหาเครื่องมือให้สำหรับขั้นตอนต่าง ๆ ในการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งเห็นได้จากการให้ทุนสนับสนุนโครงการที่มีความเสี่ยงสูง และการให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อส่งเสริมการนำนวัตกรรมที่พัฒนาได้ออกสู่สากล
- กับดักรายได้ปานกลาง
ฮังการี
จุดแข็งด้าน วทน.
- ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับกลาง (moderate innovators)
- มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตในสาขาอาหาร เกษตรกรรม ประมง สุขภาพ สิ่งแวดล้อม การก่อสร้าง และยานยนต์
- มีแรงงานที่มีทักษะที่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมที่พึ่งพาเทคโนโลยีชั้นสูง
- เป็นที่ตั้งของบริษัทต่างประเทศที่พึ่งพาเทคโนโลยีชั้นสูง และศูนย์วิจัยต่าง ๆ
- มีอัตราการจดสิทธิบัตรที่สูง และมีผลผลิตจากอุตสาหกรรมที่พึ่งพาเทคโนโลยีระดับกลางและระดับสูงในอัตราที่สูง
จุดอ่อนด้าน วทน.
- มีระดับของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมของ SMEs ที่ต่ำ
- ขาดปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างภาคส่วนในระบบการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
- ขาดแคลนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ
- สภาวะแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม เช่น สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ไม่มีเสถียรภาพ ความยุ่งยากในงานส่วนธุรการและการจัดการทั่วไป การแข่งขันที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม และการขาดแคลนทรัพยาการบุคคลในการวิจัย
สโลวาเกีย
จุดแข็งด้าน วทน.
- ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับกลาง (moderate innovators)
- บุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มีผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม และนักศึกษาปริญญาเอกอยู่ในจำนวนที่สูง
- สภาวะแวดล้อมดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
- มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาสิ่งแวดล้อม วัสดุ อาหาร เกษตรกรรม และประมง
จุดอ่อนด้าน วทน.
- ขาดปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างภาคส่วนในระบบการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยเฉพาะการขาดความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมในการนำผลงานวิจัยไปใช้เชิงพาณิชย์ และมีการสนับสนุนการพัฒนา spinoff ที่เกิดจากมหาวิทยาลัยในอัตราที่ต่ำ
- ขาดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการดำเนินกิจกรรมด้านการพัฒนาและวิจัย
- การนำแผนกลยุทธ์และข้อแนะนำจากประเทศอื่น ๆ ในสหภาพยุโรป มาใช้โดยขาดการประเมินถึงบริบทของประเทศและความเป็นไปได้ในการประยุกต์องค์ความรู้นั้น ๆ โดยละเอียด
- การกำหนดขอบเขตสาขาของการพัฒนาการวิจัยนั้นยังกว้างอยู่มาก โดยไม่ได้มีการระบุประเด็นสำคัญด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม
- การมีส่วนร่วมของงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศอยู่ในอัตราที่ต่ำ
- ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและพัฒนา
- การสนับสนุนสำหรับการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมจากภาครัฐอยู่ในระดับต่ำ
- ขาดความร่วมมือระดับนานาชาติ ด้าน วทน.
- การใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
- บริษัทโดยเฉพาะ SMEs ในประเทศมีส่วนร่วมในงานวิจัยและการพัฒนาอยู่ในระดับต่ำ
- การจัดการทั่วไปและงานธุรการมีความกระจัดกระจาย ไม่สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียว
- จำนวนการจดสิทธิบัตรอยู่ในระดับที่ต่ำมาก
- การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาหยุดนิ่ง ไม่เติบโต และการวิจัยไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มีอยู่
ออสเตรีย
จุดแข็งด้าน วทน.
- ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูง (strong innovators) ซึง มี ค่ า ผลลัพธ์และศักยภาพด้านนวัตกรรม ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยด้านนวัตกรรมของสหภาพยุโรป
- มีความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาดังต่อไปนี้ พลังงาน สิ่งแวดล้อม และการขนส่ง
- การจดสิทธิบัตรในสาขาเทคโนโลยีการขนส่ง การก่อสร้าง ยานยนต์ สิ่งแวดล้อม และวัสดุอยู่ในระดับสูง
- การตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในสาขาสุขภาพ และ ICT อยู่ในระดับสูง
- มีการขยายตัวของงานด้านการวิจัยและพัฒนา และความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัดในสาขาผลิตภัณฑ์สารคมี เครื่องจักร และอุปกรณ์
จุดอ่อนด้าน วทน.
- งบประมาณสำหรับการวิจัยขั้นพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำ
- สัดส่วนการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในประเทศโดยบริษัทต่างชาติมีอัตราลดลง
โอกาสในการพัฒนาด้าน วทน. ของกลุ่มประเทศ Visegrad 4
- ในเวทีระดับนานาชาติได้เล็งเห็นถึง visibility ของกลุ่ม Visegrad 4
- โอกาสการสร้างความร่วมมือของกลุ่ม Visegrad 4+ (Visegrad 4 และออสเตรีย)
- การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (foreign direct investment) ในประเทศกลุ่ม Visegrad 4+ มีอัตราที่สูงขึ้น
- กองทุนจากสหภาพยุโรปและโครงการส่งเสริมความร่วมมือนานาชาติสำหรับงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เช่น Horizon2020 และ Marie curie
- กรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของสหภาพยุโรปเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นการสร้างนวัตกรรมเนื่องจาก ช่วยกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์สำหรับความจำเป็นและความต้องการของการใช้เทคโนโลยี
- การทูตวิทยาศาสตร์
- มีการพัฒนาเครื่องมือใหม่ ๆ เช่น ห้องปฏิบัติการแบบเปิด และการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการบ่มเพาะนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม
- มีนโยบายในการกระตุ้นการสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและบริษัทขนาดใหญ่ (ฮังการี)
อุปสรรคในการพัฒนาด้าน วทน. ของกลุ่มประเทศ Visegrad 4
- การวิจัยและพัฒนามีค่าใช้จ่ายที่สูง
- การขาดความยอมรับของประชาชนต่อนวัตกรรมใหม่ ๆ
- ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป
- การลงทุนของภาคเอกชนในงานด้าน วทน. อยู่ในระดับต่ำ (สโลวาเกีย)
- บริษัทในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการในการใช้ผลจากการวิจัยและพัฒนาอยู่ในระดับต่ำ (สาธารณรัฐเช็ก)
- จำนวนนักศึกษาต่างชาติในระดับปริญญาเอกมีจำนวนลดลง (ออสเตรีย)
- ปัญหาสมองไหล
กลับไปหน้าบทความ